ฝึกการอ่านวรรณคดีโดยศึกษาวรรณกรรมดีเด่นทั้งที่เป็นวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมแปล โดยมุ่งสร้างรสนิยมความชื่นชมและสำนึกในคุณค่าของงานสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์โดยทั่วไป ศึกษาคุณลักษณะของวรรณคดีทั้งในส่วนที่เป็นสากลและในส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทั้งนี้ให้สามารถแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์เกี่ยวกับวรรณกรรมที่อ่านและสามารถวิเคราะห์วรรณกรรมเหล่านั้นได้ทั้งในขณะที่เป็นการแสดงออกซึ่งอัจฉริยะภาพส่วนบุคคลและที่เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม

ศึกษาหลักภาษาเขมรเบื้องต้น มุ่งฝึกทักษะการฟัง  การพูด  การอ่าน และการเขียน โดยใช้คำศัพท์ในชีวิตประจำวัน

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย เสียง คำและการสร้างคำ การจำแนกหมวดคำ ชนิดและโครงสร้างของวลี และประโยค ความหมาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย

ศึกษาทฤษฎีทางอรรถศาสตร์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ความหมายระดับคำและประโยคในภาษาไทย

ศึกษาหลักเกณฑ์ในการแบ่งภาษาถิ่น การสร้างคำ การเรียงลำดับคำ รูปประโยคต่างๆ ศัพท์ และความหมายของภาษาถิ่นเหนือ อีสาน และใต้ โดยเทียบกับภาษาไทยมาตรฐาน ศึกษาภาษาถิ่นที่เป็นคำซ้อนและภาษาถิ่นที่ปรากฏในวรรณคดีมรดกและวรรณกรรมร่วมสมัย