ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจำแนกเป็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวมนุษย์ สิ่งแวดล้อมที่เป็นผลงานของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยพิจารณาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทั้งสามประเภทที่มีต่อการปรับตัว วิวัฒนาการ และวัฒนธรรมของมนุษย์ อิทธิพลที่มนุษย์มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งในทางสร้างสรรค์และทำลาย ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ตลอดจนพิจารณาหาแนวปฏิบัติที่จะช่วยยกระดับคุณภาพของชีวิตมนุษย์ ให้สามารถดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างเหมาะสม 

ศึกษาความหมายของประชากร ภาวะประชากร การเปลี่ยนแปลงของประชากร ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรกับเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการศึกษา ศึกษาปัญหาประชากร ปัจจัยปัญหาตลอดจนผลกระทบของปัญหาประชากรต่อคุณภาพชีวิตประชากร ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาประชากรและการยกระดับคุณภาพชีวิตโดยวิธีทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน

ศึกษาวิธีการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรม รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ และวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนโยบายของรัฐเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนวิธีการในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิธีที่จะสร้างกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีการศึกษานอกสถานที่

ศึกษาความหมาย แนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีมานุษยวิทยา วิวัฒนาการของมนุษยชาติ ความเป็นมาของมนุษย์ด้านกายภาพ พัฒนาการด้านวัฒนธรรมการดำรงชีพความสัมพันธ์ของมนุษย์กับกิจกรรมทางสังคม ปัจจัยที่ทำให้มนุษย์มีความคิด ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมที่ต่างกันหรือคล้ายกัน

ศึกษาความหมายของครู คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณครู และการศึกษาในฐานะที่พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม วิชาชีพครู บทบาทหน้าที่และความสำคัญของครูคุณสมบัติของครูที่พึงประสงค์ การปลูกฝังความศรัทธาในวิชาชีพครู การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม อันก่อให้เกิดวิญญาณครู ความสำเร็จ

ศึกษาขอบเขต ที่มา และความหมายของกฎหมายรัฐธรรมนูญ วิเคราะห์ พัฒนาการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยสังเขป สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน คือ บททั่วไป พระมหากษัตริย์ สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย หน้าที่ของชนชาวไทยแนวนโยบายแห่งรัฐ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล การปกครองส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การตรวจเงินแผ่นดิน การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ศึกษาแนวคิดพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ที่มีความสัมพันธ์กับระบบการศึกษา วิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา

ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ พัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน